- เซลล์ประสาทรับความรู้สึก (sensory neuron) ซึ่งตอบสนองต่อสัมผัส เสียง แสง และสิ่งเร้าอื่น ๆ ที่มีผลต่อเซลล์ของประสาทสัมผัส ซึ่งจะส่งต่อสัญญาณ/ข้อมูลไปยังไขสันหลังและสมองต่อไป
- เซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron) ที่รับสัญญาณจากสมองและไขสันหลัง แล้วทำให้กล้ามเนื้อเกร็ง และทำให้ต่อมต่าง ๆ หลั่งสาร
- เซลล์ประสาทต่อประสาน (interneuron) ซึ่งเชื่อมนิวรอนต่าง ๆ ในสมองเขตเดียวกัน หรือเชื่อมเป็นโครงข่ายประสาทในไขสันหลัง
นิวรอนโดยทั่วไปจะมีตัวเซลล์ที่เรียกว่า soma,
ใยประสาทนำเข้า/เดนไดรต์ (dendrite), และ
แกนประสาทนำออก/แอกซอน (axon) คำ
ภาษาอังกฤษว่า neurite สามารถใช้เรียกทั้งเดนไดรต์และแอกซอน โดยเฉพาะในระยะที่เซลล์ยังไม่พัฒนาเป็นเซลล์โดยเฉพาะ ๆ (undifferentiated) ส่วนเดนไดรต์เป็นโครงสร้างบาง ๆ ที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ บ่อยครั้งยาวเป็นร้อย ๆ
ไมโครเมตรและแยกออกเป็นสาขา ๆ รวมกันเป็นต้นไม้เดนไดรต์ (dendritic tree) ที่ซับซ้อน แอกซอน (หรือเรียกว่า nerve fiber ถ้ามี
ปลอกไมอีลิน) เป็นโครงสร้างที่ยื่นออกจากตัวเซลล์แบบเฉพาะ (ที่เรียกว่า process) ตรงตำแหน่งที่เรียกว่า axon hillock และอาจยาวถึง 1
เมตรในมนุษย์ หรือมากกว่านั้นใน
สปีชีส์อื่น ๆ "nerve fiber" บ่อยครั้งรวมตัวกันเป็น "nerve fascicle" และในระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) fascicle จะรวมตัวกันเป็น "nerve" แม้ว่าตัวเซลล์ประสาทเองอาจจะมีเดนไดรต์ยื่นออกหลายอัน แต่จะมีแอกซอนยื่นออกเพียงแค่อันเดียว ถึงกระนั้น แอกซอนก็อาจแตกสาขาเป็นร้อย ๆ ครั้งก่อนจะสิ้นสุดลง
ในจุดประสานประสาทโดยมาก สัญญาณจะดำเนินจากแอกซอนของเซลล์หนึ่ง ไปยังเดนไดรต์ของอีกเซลล์หนึ่ง แต่ว่า ก็มีข้อยกเว้นมากมาย เช่น นิวรอนอาจไร้เดนไดรต์ หรือไร้แอกซอน และจุดประสานประสาทสามารถเชื่อมแอกซอนกับแอกซอน หรือเชื่อมเดนไดรต์กับเดนไดรต์
นิวรอนทั้งหมดสามารถเร้าได้โดยกระแสไฟฟ้า โดยรักษาศักย์ไฟฟ้าที่ต่างกันระหว่างภายในภายนอกเซลล์ข้าม
เยื่อหุ้มเซลล์ โดยใช้ปั๊ม
ไอออน (หรือ ion transporter) บวกกับ
ช่องไอออนที่ฝังอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ เพื่อรักษาความเข้มข้นของ
ไอออนต่าง ๆ (เช่น
โซเดียม โพแทสเซียม คลอไรด์ และ
แคลเซียม) ในระดับที่ต่างกันระหว่างภายในภายนอกเซลล์ ความเปลี่ยนแปลงของความต่างศักย์ไฟฟ้าข้ามเยื่อหุ้มเซลล์อาจเปลี่ยนการทำงานของช่องไอออนที่เปิดปิดโดยศักย์ไฟฟ้า (Voltage-gated ion channel) ถ้าศักย์ต่างเปลี่ยนมากพอ ก็จะมีผลเป็น
ศักยะงาน (action potential) ที่ยิงแบบเกิดหรือไม่เกิด (all-or-none) และเป็นพัลส์ไฟฟ้าเคมีที่วิ่งไปอย่างรวดเร็วทางแอกซอนของเซลล์ แล้วจบลงด้วยการส่งสัญญาณข้ามเซลล์ที่จุดประสานประสาท (โดยเซลล์ประสาทต่อไปอาจส่งสัญญาณต่อ)
ในกรณีโดยมาก นิวรอนเกิดจาก
เซลล์ต้นกำเนิดโดยเฉพาะ ๆ และนิวรอนในสมองผู้ใหญ่ปกติจะไม่มี
การแบ่งเซลล์ แต่ก็พบว่า astrocyte ซึ่งเป็น
เซลล์เกลีย (glial cell) รูปดาว สามารถเปลี่ยนเป็นนิวรอนได้เพราะมีลักษณะ
pluripotency ของเซลล์ต้นกำเนิด กำเนิดของเซลล์ประสาท (Neurogenesis) โดยมากในสมองจะหยุดลงเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ แต่ก็มีหลักฐานที่ชัดเจนว่ามีนิวรอนเกิดใหม่จำนวนมากในเขตสมองสองเขต คือที่
ฮิปโปแคมปัส และที่ olfactory bulb